เมนู

คำว่า ตีรณฏฺเฐ ญาณํ ญาณในอรรถว่าใคร่ครวญ ได้แก่ ญาณ
มีการเข้าไปใคร่ครวญเป็นสภาวะ หรือมีการพิจารณาเป็นสภาวะ.

22. อรรถกถาปริจจาคัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ปริจจาคัฏฐญาณ


คำว่า ปหเน ปญฺญา - ปัญญาในการละ ความว่า ปัญญา
เป็นเครื่องละวิปลาสทั้งหลายมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น, หรือธรรม-
ชาติใดย่อมละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้นได้ ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ปชหนาปัญญา, อีกอย่างหนึ่ง พระโยคีบุคคลย่อมละนิจสัญญาวิปลาส
ได้ด้วยญาณนั้น ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปหานํ ญาณํ - ญาณเป็น
เครื่องละนิจสัญญาวิปลาส,
คำว่า ปริจฺจาคฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถว่าสละ ได้แก่
ญาณมีการสละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น เป็นสภาวะ.

23. อรรถกถาเอกรสัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย เอกรสัฏฐญาณ


คำว่า ภาวนาปญฺญา - ปัญญาเป็นเครื่องอบรม ได้แก่ปัญญา
เป็นเครื่องเจริญ.

คำว่า เอกรสฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถว่ามีรสเดียว ได้แก่
ญาณมีกิจอันเดียวเป็นสภาวะ, หรือญาณมีรสอันเป็นสภาวะ คือวิมุตติ.

24. อรรถกถาผัสสนัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ผัสสนัฏฐญาณ


คำว่า สจฺฉิกิริยาปญฺญา - ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้ง
ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระนิพพานให้ประจักษ์
ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด หรือด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ.
คำว่า ผสฺสนฏฺเฐ ญาณํ ได้แก่ ญาณมีการได้ซึ่งพระนิพพาน
เป็นสภาวะ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดและการได้เฉพาะทั้ง 2 นั้น
นั่นแล.

25-28. อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา


นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ 4


บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญ และในการกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอา